คู่ขนานกันมา
“ในสภา-นอกสภา”
ยังไม่นับโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจที่ยืนระยะอยู่ในปัจจุบัน แต่ที่ทำท่าจะหนักหนากว่าก็คือปัญหาการเมือง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้การชุมนุมจะเบาลงตั้งแต่ 19-20 ก.ย.63 ที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นเพียงช่วงเปลี่ยนผ่านจากขั้นที่ 1 ไปสู่ขั้นต่อๆไป
การแก้ไขรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่นำไปสู่การปะทุเอาได้ง่ายๆ แม้จะเข้าสู่วงจรสภาที่จะไปว่ากัน
แต่ก็มีแรงตีขนาบจากภายนอก เพราะนอกจากมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแล้วยังมีความแตกต่างในประเด็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระย่อยลงไป
ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เข้าสู่สภามี 6 ญัตติ
1.ร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาลสาระก็คือการแก้ไข ม.256 ตั้ง ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้ง 150 คน รัฐสภาเลือก 20 คน ที่ประชุมอธิการบดี 10 คน ผู้มีประสบการณ์ทางกฎหมาย 10 คน และนิสิตนักศึกษา 10 คน
2.ร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทยแก้ไข ม.256 ตั้ง ส.ส.ร.200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
3.พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เสนอ 4 ญัตติ แยกย่อยลงไปคือยกเลิก ม.270-ม.271 ยกเลิก ม.279 แก้ไข ม.159 ยกเลิก ม.272 และแก้ไข ม.91-92-94 ยกเลิก ม.93-101 (4) และ 105(3)
หากผ่านรัฐสภาเห็นชอบไปได้ทั้ง 6 ญัตติ ก็จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทะลุผ่านไปได้ทั้งหมดคือแก้ไขทั้งฉบับหรือเขียนกันใหม่ทั้งหมด
ปัญหาความเห็นต่างคงอยู่ในแนวนี้แหละ
ฝ่ายรัฐบาลคงยืนตามแนวที่ระบุเอาไว้ในญัตติที่พรรคร่วมรัฐบาลเสนอไป อยู่ที่ว่าวุฒิสภาจะเอาด้วยหรือไม่
แต่มาถึงขั้นนี้แล้วเชื่อว่าจะต้องไปในทิศทางเดียวกันแม้จะมีความรู้สึกของ ส.ว. บางส่วนที่เห็นว่าไม่ควรจะต้องมีการแก้ไข
ที่สำคัญก็คือจบเกมวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง
และยังไม่รู้ว่าหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากสามารถดำเนินการต่อไปจะมีวุฒิสภาอีกหรือไม่ก็ยังคาดเดาไม่ได้แต่ที่แน่ๆ ท่วงทำนองคงไม่ใช่ลักษณะจาก สนช. มาสู่ 250 ส.ว.
หากพิจารณาจากเสียงสนับสนุนแล้วถ้ารัฐบาลจับมือกับ ส.ว.และสนับสนุนร่างของพรรคร่วมรัฐบาลโอกาสที่จะผ่านไปได้มีอยู่สูง
อีกทั้งพรรคเพื่อไทยจะหันมาสนับสนุนก็เป็นไปได้
เพราะ 2 ญัตติของเพื่อไทยและรัฐบาลนั้นค่อนข้างจะใกล้เคียงกันเพียงแต่ของเพื่อไทยกำหนดให้มี ส.ส.ร. 200 คน ที่ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
ที่เหมือนกันก็คือไม่ให้แตะหมวดที่ 1 และ 2
ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่เพื่อไทยจะเสนอญัตติพรรคก้าวไกลได้ร่วมลงชื่อด้วย แต่มาถอนชื่อภายหลัง เพราะไม่เห็นด้วยที่ห้ามแตะในหมวดที่พวกเขาต้องการให้มีการแก้ไขจนทำให้เกิดปัญหาไม่ลงรอยกัน
ลำพังพรรคก้าวไกลไม่สามารถที่จะเสนอญัตติเองได้เนื่องจากเสียงไม่พอ
เพื่อไทยจึงหาทางออกเพื่อให้พรรคฝ่ายค้านจับมือเดินหน้ากันต่อไปได้ จึงเสนอให้ยื่นญัตติเพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ เพื่อสนองความต้องการของพรรคก้าวไกล
และยังสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ครอบจักรวาล เพราะที่เสนอไปนั้นขับเคลื่อนไปได้ทุกมิติแต่เนื่องจากมีประสบการณ์โชกโชนในทางการเมืองมุ่งหวังไปสู่ผลสำเร็จมากกว่า
แต่ “เกมนอกสภา” จะมีบทบาทและแรงกดดันอย่างแยกไม่ออก.
“สายล่อฟ้า”
อ่านเพิ่มเติม...
อ่านบทความและอื่น ๆ ( จุดพลิกผันการเมือง - ไทยรัฐ )https://ift.tt/3cuXRao
ประเทศไทย
Bagikan Berita Ini
0 Response to "จุดพลิกผันการเมือง - ไทยรัฐ"
Post a Comment